เหรียญอาจารย์นำหลัง ภปร. ปี2520

ขายแล้ว

องค์ที่ 1 ;
เหรียญอาจารย์นำหลัง ภปร. ปี2520 เนื้อโลหะบ้านเชียง วัดดอนศาลา จ.พัทลุง

เหรียญพระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา หลัง ภปร. ปี 2520 เนื้อโลหะผสม เหรียญรุ่นนี้เป็นเหรียญที่สร้างแจกเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา เหรียญรุ่นนี้ได้มีการนำเอาชนวนโลหะศักดิ์สิทธิ์รุ่นเก่าๆ จำนวนมากมาหลอมเป็นเนื้อเหรียญ จากนั้นก็จัดประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2520 โดยมี พล.ต.ต. ขุนพันธ์ รักษ์ราชเดช เป็นเจ้าพิธี ประสบการณ์ไม่แพ้เหรียญปี 19 เลยครับ เหรียญรุ่นนี้เมื่อปลุกเสกเสร็จปลุกเสกเสร็จและแจกออกไปได้ไม่นาน ก็มีประสบการณ์เกรียวกราวเล่าลือกันกว้างขวาง จนทำให้มีของเก๊ผลิตตามของแท้ออกมาติดๆ กันเลย ซึ่งของเก๊ตอนนั้นเป็นเหรียญแกะพิมพ์ขึ้นใหม่และมีอยู่ด้วยกันประมาณ 4-5 พิมพ์ ด้วยกัน เมื่อนานไปเหรียญเก๊เหล่านั้นก็มีการหลงเล่นเข้าใจว่าเป็นเหรียญแท้กัน ราคาแค่หลักร้อยเมื่อหลายปีที่แล้วแต่ก็อย่าได้ประมาณนะครับ หลงเล่นกันผิดๆ มาก็มากแล้ว แต่มาวันนี้ราคาแพงขึ้น ในสภาพที่สวยๆหลายพันบาทเข้าไปแล้ว ต่อจากนี้คงเล่นกันผิดๆไม่ได้อีกแล้ว ร้านทะเลสาบพระเครื่องจึงขอนำจุดสังเกตของเหรียญแท้ลงเพื่อจะได้จดจำและไม่พลาดให้กับเหรียญเก๊อีกต่อไป เหรียญไข่พระอาจารย์นำ รุ่น ภปร. มีสร้างไว้ด้วย เนื้อทองคำ เงินและเนื้อโลหะผสมเหรียญทองคำและเงินมีน้อยมาก ส่วนเหรียญเนื้อโลหะผสมมีจำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญทำลายสถิติโดยมีคนบูชาหมดเกลี้ยงในวันเดียว … “วันพระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์นำ ชินวโรเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2520

ในตอนนี้จะชี้ให้เห็นเหรียญอาจารย์นำ แก้วจันทร์ อีกรุ่นหนึ่งที่มีการปลอมกันมากเช่นกัน คือรุ่น “ภปร” ซึ่งสร้างขึ้นในการพระราชทานเพลิงศพพระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ เหรียญรุ่นนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเครื่องหมาย “ภปร” ประดิษฐานไว้หลังเหรียญ นอกจากนี้ยังทรงเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพด้วยพระองค์เอง พร้อมด้วสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณวลัยลักษณ์ ณ เมรุชั่วคราว วัดดอนศาลา อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ท่ามกลางประชาชนหลายหมื่นคน เหรียญรุ่นนี้สร้างเพียง 10000 เหรียญ ชั่วพริบตาเดียวก็หมดเกลี้ยง เป็นเหรียญที่หมดเร็วเป็นประวัติศาสตร์ของการสร้างเหรียญในประเทศไทยก็ว่าได้ เหรียญรุ่นนี้ใช้ เนื้อพระกริ่งทักษิณชินวโร และรูปเหมือนเล็กที่เหลืออยู่ และพระอาจารย์นำ ชินวโร ได้ปลุกเสกเอาไว้ผสมกับเนื้อเหรียญรุ่นแรกที่เหลือจากการปั๊ม มาสร้างเหรียญรุ่นนี้ จากนั้นได้ทำพิธีปลุกเสก ณ อุโบสถ “ภปร” วัดดอนศาลา เท่าที่จำได้มีเกจิอาจารย์มาร่วมพิธีมากมาย เอาที่จำได้ มีดังนี้
พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง จ.นครศรีธรรมราช
พ่อท่านแสง วัดคลองน้ำเจ็ด จ.ตรัง
พ่อท่านมุม วัดนาสัก จ.ชุมพร
หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดง จ.พัทลุง
หลวงพ่อรอด วัดประดู่ฯ จ.นครศรีธรรมราช
หลวงพ่อผอม วัดหญ้าปล้อง จ.นครศรีธรรมราช
หลวงพ่อชู วัดมุมป้อม จ.นครศรีธรรมราช
หลวงพ่อแก้ว วัดโคกโดน จ.พัทลุง
หลวงพ่อเล็ก วัดประดู่เรียง จ.พัทลุง
หลวงพ่อศรีเงิน วัดดอนศาลา จ.พัทลุง
พระครูกาชาด วัดดอนศาลา จ.พัทลุง

จุดพิจารณา เหรียญแท้
ด้านหน้า
1. ใบหูข้างขวาจะมีติ่งอยู่ข้างบน
2. สระอาของคำว่า “ราช” จะสั้นกว่าตัว ร. และตัว ช.
3. ใม้เอกของคำว่า”ที่” จะเป็น จุดกลมไม่ถึงขอบเหรียญ
4. ปลายทางเลข
5. จรดขอบเหรียญด้านใน
ด้านหลัง
1. ปลายยอดพระมหามงกุฎจะมีเส้นแตกมาชนรัศมี
2. ปลายหางเส้นล่างสุดขวามือของพระมหามงกุฎจะมีเส้นแตกยาวเรียวลาดลงมา
3. พื้นเหรียญตรงใต้คำว่า ภปร เยื่องไปทางด้านขวามือ จะมีตุ่มกลมเล็กๆ จุดหนึ่ง
4. มีเส้นแตกจากหัวอักขระขอมตัวลิมาจรดขอบเหรียญด้านใน
5. มีเส้นผ่าน
6. พื้นเหรียญตรงใต้ปลายหางเส้นล่างสุดขวามือของพระมหามงกุฎมีขีดลาดลงมาด้านซ้ายหนึ่งขึด ปล.

พระอาจารย์นำ ชินวโร เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือนเก้า (สิงหาคม) พ.ศ.2434 ที่บ้านดอนนูด ตำบลปันแต (บ้านดอนนูดมีอาณาเขาติดต่อกับ 3 ตำบล คือ ตำบลปันแต ตำบลควนขนุน ตำบลมะกอกเหนือ) เป็นบุตรของนายเกลี้ยง นางเอียด แก้วจันทร์ มารดาได้เสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเล็กอยู่ (หลังจากคลอดบุตรหญิงคนสุดท้อง) บิดาเป็นอาจารย์ที่เก่งกล้าทางไสยศาสตร์ ดังนั้นพระอาจารย์นำ จึงได้มีโอกาสศึกษาวิชาทางไสยศาสตร์เบื้องต้นแต่เยาว์วัย นอกจากนั้น บิดายังได้นำไปฝากให้ศึกษาวิชาเวทมนตร์คาถากับพระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงมากสมัยนั้น จนอายุได้ 20 ปี จึงได้อุปสมบทกับพระอาจารย์ทองเฒ่า ที่วัดเขาอ้อ ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอยู่ 6 พรรษา จึงลาสิกขา แล้วได้สมรสกับนางสาวพุ่ม มีบุตรชาย หญิง ด้วยกัน 4 คนจนกระทั่ง พ.ศ.2506 พระอาจารย์นำ ได้ป่วยหนักจนแทบเอาชีวิตไม่รอด ได้มีลูกศิษย์ของท่านประทับทรงหลวงพ่อที่วัดเขาอ้อ (บ้างก็ว่าท่านฝันเห็นพระอาจารย์ทองเฒ่า) บอกว่าหากจะให้หายป่วยจะต้องบวช ซึ่งท่านก็รับว่าถ้าหายป่วยแล้วจะบวชทันที ปรากฏว่าอาการป่วยของท่านก็หายเป็นปกติ ดังนั้นพระอาจารย์นำจึงได้อุปสมบทอีกครั้งหนึ่งที่วัดดอนศาลา เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2506 และได้อยู่ในเพศบรรพชิตตลอดมาจนถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2519 รวมอายุได้ 85 ปี ต่อมาในปี 2520 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2520

พระอาจารย์นำ ชินวโร ได้ทำคุณประโยชน์หลายอย่าง ที่สำคัญได้แก่
1. การช่วยเหลือราชการปราบปรามโจรผู้ร้าย
ในสมัยที่พระอาจารย์นำ ยังเป็นฆราวาส พ.ศ.2466 ทางมณฑลนครศรีธรรมราช ได้ส่งพระยาวิชัยประชาบาล ผู้บังคับการตำรวจมณฑลนครศรีธรรมราช ไปปราบโจรผู้ร้ายในจังหวัดพัทลุง ไปตั้งกองปราบที่วัดสุวรรณวิชัย ปรากฏว่าพระอาจารย์นำ ได้เป็นกำลังสำคัญในการนำสืบจับโจรผู้ร้าย ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่ในการปราบปรามครั้งนั้นมาก จนสามารถปราบปรามโจรผู้ร้ายได้สงบราบคาบ

2. การสร้างวัตถุมงคล
พระอาจารย์นำ ได้สร้างเครื่องรางของขลังไว้มาก ทั้งที่สร้างด้วยตัวท่านเองและสร้างร่วมกับคณาจารย์ผู้อื่นเช่น พ.ศ.2483 ร่วมมือกับพระครูสิทธิยาภิรัตน์ (เอียด) สร้างพระมหาว่าน ขาว-ดำ และพระมหายันต์ แจกให้ทหารที่ไปรบในสงครามอินโดจีน พ.ศ.2512 ได้สร้างพระเนื้อผงผสมว่าน จำนวน 4 พิมพ์ พ.ศ.2513 สร้างพระปิดตาเนื้อชิน ตะกั่ว พ.ศ.2519 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ได้สร้างเหรียญรูปเหมือนพระอาจารย์นำ และพระกริ่งทักษิณ ชินวโร ซึ่งเป็นวัตถุมงคลรุ่นสุดท้ายของท่าน นอกจากนี้ท่านยังได้สร้างตะกรุดและผ้ายันต์ไว้มากมาย วัตถุมงคลเหล่านี้เป็นที่เชื่อถือ ศรัทธา ของประชาชนทั่วไป ในวงการพระเครื่องแสวงหากันมาก จนปัจจุบันกลายเป็นวัตถุมงคลที่หาได้ยากยิ่งอย่างหนึ่ง

3. การสร้างอุโบสถ
พระอาจารย์นำได้ดำริจะสร้างอุโบสถสำหรับวัดดอนศาลา โดยได้ปรึกษาหารือกับบรรดาศิษย์ และได้รวบรวมเงินจากผู้มีจิตศรัทธา จากการทอดกฐินบ้าง ทอดผ้าป่าบ้าง จึงได้เริ่มสร้างอุโบสถตั้งแต่ พ.ศ.2513 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ในการดำเนินการก่อสร้างครั้งนี้ พระอุโบสถวัดดอนศาลาสำเร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ.2519 ซึ่งเป็นปีที่ท่านถึงแก่มรณภาพ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จารึกพระปรมาภิไธยย่อ “ภ.ป.ร.” ไว้ที่หน้าบันและขอบประตูหน้าต่างอุโบสถทุกบานภายในพระอุโบสถพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นค่าจ้างให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติและทศชาติชาดก ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่พระอาจารย์และชาวจังหวัดพัทลุงเป็นอย่างยิ่ง

พระอาจารย์นำ เป็นผู้มีจิตเมตตา กรุณา มีอุเบกขา ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ที่พบเห็น ท่านได้ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อสังคมโดยส่วนรวมมากมาย และยังเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ องค์ปัจจุบัน ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ ดังจะเห็นได้จาก เมื่อพระอาจารย์นำยังมีชีวิตอยู่ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จและทรงเยี่ยมอาการป่วยของท่าน โปรดประทับอยู่ในกุฏินานถึง 2 ชั่วโมง ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่พระอาจารย์นำเป็นอย่างยิ่ง

เหรียญนี้เป็นเนื้อโลหะบ้านเชียงรมดำแห้งๆ สวยสมบูรย์เดิมๆ จึงน่าใช้บูชาน่าเก็บสะสมเป็นยิ่งนัก

ในส่วนของใบประกาศรางวัล ทางผู้จัดงาน จะออกให้หลังจากงานประกวด 60 วัน

👉 สามารถเข้าชมพระเครื่องของทางร้านที่เวปท่าพระจันทร์ได้ทั้ง 5 ร้าน (มังกรพระเครื่อง ร้านที่ 1-5)
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง2
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง3
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง4
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง5

👉 สามารถเข้าชมพระเครื่องของทางร้านมังกรพระเครื่องทั้งหมด ได้ที่
▶️ : https://www.dragon1amulet.com

✅ โทรศัพท์ : 081-919-5885
✅ ID Line : ฺ rsp4884
✅ Facebook : เอก สงขลา

ทิ้งคำตอบไว้

อีเมล์ของคุณจะไม่ถูกเผยแพร่