ฤาษี อ.เซ็น วัดท่ามิหรำ ปี2485

ขายแล้ว

ฤาษี อาจารย์เซ็น วัดท่ามิหรำ อ.เมือง จ.พัทลุง ปี2485
มีบัตรรับรองพระแท้จากสมาคมฯ

ยอดบรมครูเมืองใต้ที่หายากในตำนาน ฤาษีเข้าอ้อเมืองลุงที่โด่งดังจากอดีตจนปัจจุบันที่ได้ความนิยมทั้งภาคใต้สร้างชื่อเสียงไปจนถึงประเทศใกล้ มาเลย์ ปีนัง สิงค์โปร์ กับพระเครื่องเมืองตักกศิลาของภาคใต้ เรียกได้ว่าแทบจะนับองค์ได้ในองค์ที่สวยสมบูรณ์ตามอัตตะลักษณะการหล่อที่ผสมผสานร่อยรอยคลาบไคลผ่านความร้อนระอุของสงครามล่วงเลยแรมรอนมาจนปัจจุบันนับเป็นชั่วคน ไรคำบรรยายสุดพรรณาได้จริงๆครับ”ยอดฤาษีเมืองตะลุง”ที่ได้เทียมทานของภาคใต้บ้านเราอย่างชัดเจนในมโนคติที่สืบทอดกันมา..
วัดอินทราวาส (วัดท่ามิหรำ) ตั้งเลขที่ 550 บ้านท่ามิหรำ ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม มีลำคลองและบ้านเรือนประชาชนแวดล้อมโดยรอบ วัดอินทราวาส (วัดท่ามิหรำ) เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ประมาณ พ.ศ. 2148 กาลเวลาต่อมากลายเป็นวัดร้าง จนได้มีพระธุดงค์ชื่อพ่อท่านแก่สุด มาพำนักพักอยู่ จึงได้ชักชวนนายช่วย และนางสีนาง ได้ร่วมกับชาวบ้านบูรณะปฏิสังขรณ์อาคารเสนาสนะ สร้างเป็นวัดมีพระสงค์อีกครั้งหนึ่งประมาณ พ.ศ.2391 ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 3 กรุงรัตนโกสินทร์ ชาวบ้านเรียกนามวัดนี้ว่า วัดท่ามิหรำ ตามชื่อหมู่บ้านต่อมาถึง พ.ศ.2483 ได้เปลี่ยนนามใหม่เป็น วัดอินทราวาส ในสมัยเจ้าอธิการเซ็น อินฺทสโรเป็นเจ้าอาวาส วัดอินทราวาส (ท่ามิหรำ) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2474 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 80 เมตร ยาว 120 เมตร ได้ผูกพันธสีมาเมื่อ วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2476 เกี่ยวกับการศึกษาได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมตั้งแต่ พ.ศ.2496 เป็นต้นมา

สำหรับการจัดสร้างวัตถุมงคลของอธิการเซ็นฯ หรือพระอาจารย์เซ็น ได้เริ่มสร้างพระเครื่องครั้งแรกเมื่อราวปี พ.ศ.2484 อันเป็นช่วงที่เกิดสงครามสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแจกจ่ายแก่ทหารอาสาสมัคร ตลอดจนชาวบ้านประชาชนทั่วไป และยังได้ทำการเชิญพระเกจิสายเขาอ้อ มาทำพิธีปลุกเสกหมู่ ตามแบบวิธีปฏิบัตินิยมของสำนักเขาอ้อ โดยมีพระอาจารย์เอียด เป็นประธาน โดยท่านสร้างพระเป็นที่นิยมบูชากันเป็นสากลมาตรฐานคือพิมพ์พระปิดตาและพิมพ์ฤาษี สำหรับพระปิดตาของอาจารย์เซ็น นี้เป็นแบบเบ้าประกบที่ทำด้วยโลหะ องค์พระจะเห็นว่ามีการตัดชนวนที่ด้านบนเศียรพระ และด้านหลังมีรอยประกบเคลื่อนทุกองค์มีเนื้อหาวรรณะโลหะหลายกระแส เช่นสำริด ทองผสม ทองผสมออกลงหิน จะไม่ปรากฏคราบดินเบ้าตามลักษณะของแม่พิมพ์เหล็ก ส่วนพิมพ์ฤาษี จัดสร้างน้อยมากแทบจะเป็นตำนานไปแล้ว หลังเสร็จพิธีพระชุดนี้อาจารย์เซ็น นำมาแจกที่วัดท่ามิหรำ และอีกชุดหนึ่งพระอาจารย์เอียด นำแจกที่วัดเขาอ้อจำนวนหนึ่ง ซึ่งทำให้นักเลงพระรุ่นเก่าสายใต้จะเรียกพระชุดนี้ เป็นพระปิดตาเขาอ้อที่มีประสบการณ์อีกองค์ของเมืองลุง ซึ่งอาจเกือบจะถือได้ว่านักเลงพระรุ่นเก่ารู้จักพระชุดนี้เป็นพระชุดเขาอ้อ ชุดแรกๆ นับว่าวัตถุมงคลของท่านเป็นเพชรเมล็ดงามอีกชิ้นหนึ่งของจังหวัดพัทลุง

👉 สามารถเข้าชมพระเครื่องของทางร้านที่เวปท่าพระจันทร์ได้ทั้ง 5 ร้าน (มังกรพระเครื่อง ร้านที่ 1-5)
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง2
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง3
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง4
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง5

👉 สามารถเข้าชมพระเครื่องของทางร้านมังกรพระเครื่องทั้งหมด ได้ที่
▶️ : https://www.dragon1amulet.com

✅ โทรศัพท์ : 081-919-5885
✅ ID Line : ฺ rsp4884
✅ Facebook : เอก สงขลา

ทิ้งคำตอบไว้

อีเมล์ของคุณจะไม่ถูกเผยแพร่