ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว

ขายแล้ว

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม

ตะกรุดหน้าผากเสือในตำนาน หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของหลวงปู่บุญ จัดเป็นตะกรุดชั้นยอดของหลวงปู่ก็ว่าได้ เพราะว่าท่านสร้างไว้ไม่มาก กรรมวิธีการสร้างของท่านก็ลำบากยากยิ่งเพราะว่ากว่าจะลงได้จะต้องดูฤกษ์ดูยามและต้องทำพิธีบายศรี มีหัวหมูผู้ที่จะทำจะต้องจัดหาเครื่องพิธีมาครบและเอาหนังหน้าผากเสือมาให้ท่าน เสือหนึ่งตัวใช้ได้อันเดียว(ทำได้แค่ดอกเดียว เพราะตบะมหาอำนาจโดนดึงออกมาหมดแล้ว) ตะกรุดหน้าผากเสือของหลวงปู่บุญ ท่านกำหนดเอาหนังส่วนเฉพาะช่วงเหนือของตาเสือขึ้นไประหว่างทั้งสองเฉพาะช่วง นั้นเท่านั้น ดังนั้นหนังเสือตัวเดียวจะทำตะกรุดได้ดอกเดียวและหนังเสือตัวที่ตัดเอามา แล้ว เมื่อทิ้งไว้จะเป็นผุผังไปในที่สุด

กรรมวิธีการสร้าง เมื่อได้หนังหน้าผากเสือตามลักษณะดังกล่าวมาแล้ว ต้องให้หลวงปู่กำหนดฤกษ์จากนั้นจะตั้งเครื่องสังเวย บูชาเทวดา ครูอาจารย์ มีหัวหมู บายศรีแล้วท่านจะเข้าพิธีลงอักขระเลขยันต์ในแผ่นหนังหน้าผากเสือ เฉพาะพิธีแต่ละครั้งได้เพียงดอกเดียวเท่านั้น เมื่อลงเสร็จแล้วท่านจะปลุกเสกจนครบ 7 เสาร์ 7 อังคาร จึงจะใช้ได้นับว่ามีกรรมวิธีสร้างที่ค่อนข้างยากมากดังนั้น ในชีวิตของหลวงปู่จึงสร้างไว้ไม่มากนักคนมีความปรารถนาแรงกล้าและมีโอกาส เท่านั้นจึงได้ทำเอาไว้ตะกรุดหน้าผากเสือของหลวงปู่บุญจึงมิได้สร้างขึ้นแบบง่ายๆเหมือนทั่วไปแต่กรรมวิธีโดยเฉพาะที่เป็นแบบอย่างของท่านตามตำร้บที่ท่านได้ศึกษามา

ขนาดของตะกรุดหน้าผากเสือหลวงปู่บุญมีขนาดไม่แน่นอนเท่าที่พบขนาดไม่เท่ากัน แม้แต่ดอกเดียวลักษณะเป็นหนังหน้าผากเสือม้วน ประมาณ2-3รอบเท่านั้นเพราะหนังซึ่งมีความหนาจะม้วนมากกว่านั้นได้ลำบากและทุกดอกจะถักเชือกค่อมไว้อย่างแน่นตึง เพราะหนังเสือซึ่งม้วนยากหากไม่ใช้เชือกถักแน่นแล้วจะคลายตัวออกทันที(แต่ที่ถักเชือกแล้วไม่ได้ลงรักเชือกเปื่อยขาดคลายตัว ออกไปจนเห็นขนเสือก็เคยมีให้เห็นกัน) ลักษณะการถักมีหลายแบบไม่แน่นอน มีทั้งลักษณะถักคลุมหัวท้ายกับถักไม่คลุมหัวท้าย ส่วนที่เชือกไม่คลุมไว้คือ หัวและท้ายจะเห็นขนเสือโผล่ออกมาบ้างเล็กน้อยเพราะไม่ได้เอาขนออก การลงอักขระเลขยันต์หลวงปู่ท่านลงด้านไม่มีขนฉะนั้นด้านที่มีขนจะยังคงสภาพเดิมอยู่เช่นนั้นทุกดอกที่ถักเชือกไว้แล้วส่วนมากมักจะลงรักทับไว้ด้วยเพื่อรักษาเนื้อของเชือกให้คงทนบางดอกปิดทองทับตลอดดอกก็มี

เบญจภาคีตะกรุดหน้าผากเสือของเมืองไทย ดังนี้
1.หลวงปู่นาค วัดอรุณ ธนบุรี
2.หลวงปู่บุญ กลางบางแก้ว นครปฐม
3.หลวงพ่อหว่าง เทียนถวาย ปทุมธานี
4.หลวงพ่อนอ กลางท่าเรือ อยุธยา
5.หลวงพ่อเต๋ สามง่าม นครปฐม

พุทธคุณตะกรุดหน้าผากเสือ
1.เป็นเจ้าป่า มีตบะเดชะมหาอำนาจ แค่เพียงกลิ่นสาปเสือโชยไปกระทบสัตว์อื่นเป็นต้องหวาดกลัว
2.ถึงแม้เสือจะเป็นสัตว์ที่ดุและน่ากลัวแต่คนก็อยากเห็นและอยากเจอเสือ ข้อนี้ท่านว่าเป็นเมตตามหานิยม
3.หากินคล่องไม่มีฝืดเคืองเรื่องอาหาร คือด้านการงานทำมาหากิน

👉 สามารถเข้าชมพระเครื่องของทางร้านที่เวปท่าพระจันทร์ได้ทั้ง 5 ร้าน (มังกรพระเครื่อง ร้านที่ 1-5)
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง2
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง3
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง4
▶️ : https://www.thaprachan.com/มังกรพระเครื่อง5

👉 สามารถเข้าชมพระเครื่องของทางร้านมังกรพระเครื่องทั้งหมด ได้ที่
▶️ : https://www.dragon1amulet.com

✅ โทรศัพท์ : 081-919-5885
✅ ID Line : ฺ rsp4884
✅ Facebook : เอก สงขลา

ทิ้งคำตอบไว้

อีเมล์ของคุณจะไม่ถูกเผยแพร่